“Better tomorrow Read today” = “อ่านหนังสือวันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”
FREEBOX

 

เพโทรเซลลี, จอห์น วี. 2565. จับให้ได้ว่าใคร "มั่ว" แปลจากเรื่อง The Life-changing Science of Detecting Bullshit โดย จินดารัตน์  ธรรมรงวุทย์. กรุงเทพฯ:  อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. 294 หน้า. 325 บาท.

 

          เรื่องโกหก" ที่ว่าร้าย ยังไม่อันตรายเท่าสิ่งที่เรียกว่า "เรื่องปั้นน้ำเป็นตัว" มันคือความมั่วตาใสที่ไม่สนใจความเป็นจริง ทำให้เราคิดและตัดสินใจผิดพลาดกันอยู่ทุกวี่วัน ปัญหาคือ ไม่ว่าจะฉลาดรอบรู้แค่ไหน เราต่างหลุดหลงไปเชื่อเรื่องไม่จริงได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจากคนใกล้ตัวเราเอง นักขาย นักการตลาด นักล็อบบี้ นักวิชาชีพที่ความน่าเชื่อถือสูง กระทั่งผู้นำประเทศ และหลายครั้งมันทำให้เราต้องสูญเสียบางอย่างที่สำคัญ
    - เพื่อนที่คุยเกทับเป็นตุเป็นตะทั้งที่ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนั้น
    - นักบาส NBA ชื่อดังที่บูชาวิทยาศาสตร์ แต่ดันปักใจเชื่อและหว่านล้อมให้คนอื่นเชื่อด้วยว่าโลกแบน
    - ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเชื่อคนง่าย กลับโดนตะล่อมให้ลงทุนจนสูญเงินเกือบหมดตัว
    - คนรักสุภาพยี้โยเกิร์ตที่มีไขมัน 20% แต่ดันเหมาโยเกิร์ตปราศจากไขมัน 80% มันต่างกันตรงไหน
    - วารสารเด็กชื่อเสียงป่นปี้ เพราะตีพิมพ์ "งานวิจัย" จนทำให้เด็กล้มป่วยระนาว
         หนังสือเล่มนี้พยายามบอกเราว่า ทำไมเรื่องปั้นน้ำเป็นตัวจึงอันตรายยิ่งกว่าเรื่องโกหก คุณลองนึกสภาพคนโกหกที่ต้องคอยพะว้าพะวังว่าพูดอะไรไป แล้วต้องพูดอะไรต่อ เพื่อปกปิดว่าโกหกตรงไหนไปบ้าง ไหนจะต้องคอยระวังสีหน้าท่าทางไม่ให้ใครจับไต๋ได้ ดูท่าคนโกหกคนนี้จะถูกเปิดโปงในไม่ช้า...

 

จำนวนผู้เยี่ยมชม
เดือนนี้
1,399
ปีนี้
32,972
โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์. เข้าเยี่ยมชมหอสมุดม.ล.ปิ่น มาลากุล วันที่ 14 ธันวาคม 2566
ดูกิจกรรมทั้งหมด