“Better tomorrow Read today” = “อ่านหนังสือวันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”
FREEBOX

 

สวีหรู่หง. 2566. ขบวนร้อยอสูรยามวิกาล โดย กัญญาณัฐ  กรีประเสริฐกุล. กรุงเทพฯ: กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป. 307 หน้า. 465 บาท.

 

         โยไก ของญี่ปุ่น . คล้ายภูตผี คล้ายปีศาจ คล้ายมนุษย์ คล้ายเทพเจ้า สี่ช่องว่างระหว่างภพที่แสนคลุมเครือ . ผีสางเทวดาที่ถือกำเนิดขึ้นจากพิธีเซ่นไหว้ของคนสมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันนี้ ตำนานเทพเจ้าที่ถูกเล่าขานกันแบบปากต่อปากถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน . ผีสางเทวดาบางตนใช้ประโยชน์จากการมีอยู่ของศาสนากลายร่างไปเป็นเทพเจ้าผู้เปล่งประกายปราดเปรื่องที่ผู้คนกราบไหว้บูชา . สัตว์ประหลาดบางตนกลายเป็นภูตผีที่มนุษย์หวาดกลัว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ศาสนาเฟื่องฟู มีทั้งผีสางเทวดาฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปรากฏเป็นเงาอยู่ทั่วทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ทางศาสนา ตำนานเล่าขาน หรือแม้แต่เกร็ดพงศาวดารก็พูดถึงเรื่องนี้อย่างมากมายนับไม่ถ้วน . “ ซาน ไห่ จิง ” เป็นหนังสือโบราณในยุคก่อนราชวงศ์ฉินของจีน โดยได้บันทึกเรื่องราวของสิ่งเร้นลับและเรื่องประหลาดไว้ต่าง ๆ นานา . นักวิชาการบางส่วนมองว่า “ซาน ไห่ จิง” เป็นเหมือน “คาถา” โบราณที่บันทึกพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของพ่อมดโบราณที่บูชาเทพเจ้าและสาปแช่งเหล่าภูตผี . บางส่วนมองว่า “ซาน ไห่ จิง” เป็นเทพนิยายโบราณที่สะท้อนให้เห็นถึงจินตนาการที่วิจิตรพิสดารไร้ขีดจำกัดของคนยุคโบราณ . ภายใต้ปลายปากกาของโทริยามะ เซกิเอ็น (Toriyama Sekien) โยไกญี่ปุ่นเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างและมีลักษณะที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งถูกพัฒนาเรื่อยมาตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป หนังสือ “ขบวนร้อยอสูรยามวิกาล : กำเนิดโยไก” ได้นำโฉมหน้าของภูตผีปีศาจ 207 ตนที่เคยอยู่ใต้ปลายปากกาของโทริยามะ เซกิเอ็น มาเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ใหม่ผ่านภาพวาด . แรกเริ่มเดิมทีระบบความเชื่อของญี่ปุ่นอยู่ในรูปแบบของการบูชาธรรมชาติซึ่งเชื่อว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล แนวคิดของลัทธิชินโตซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของญี่ปุ่นมองว่าทุกสรรพสิ่งล้วนมีวิญญาณ ทั้ปรากฏการณ์และวัตถุทางธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ ภูเขา ทะเล รวมถึงพืช สัตว์ วีรบุรุษในเทพนิยาย ไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ล้วนมีวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น เรียกได้ว่ามีวิญญาณดำรงอยู่มากมาย บ้างก็ว่ามีมากถึง “ แปดล้านตน ” . ตั้งแต่สมัยเฮอันเป็นต้นมา เรื่องราวลี้ลับและภูตผีเทวดาจากประเทศจีนและอินเดียถูกเผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งสมัยก่อนเนื่องจากหนังสือมีราคาแพง ส่วนใหญ่แล้วความรู้ด้านวัฒนธรรมจึงมักผูกขาดอยู่กับตระกูลผู้สูงศักดิ์เท่านั้น ขณะนั้น “หนังสือข้างหมอน (Makura no S?shi)” และ “ตำนานเก็นจิ (Genji Monogatari)” ล้วนมีเรื่องราวของสิ่งลี้ลับและภูตผีเทวดาปรากฏอยู่ หรือแม้แต่ชาวบ้านเองก็มีตำนานที่ถูกเล่าขานอย่างไม่ปะติดปะต่อนัก . เวลาล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน โยไกจึงไม่ได้เป็นเพียงโยไกอีกต่อไป ภูตผีปีศาจที่แต่เดิมทั้งน่ากลัวและน่าหวาดหวั่น ปัจจุบันกลายมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับสื่ออย่างภาพยนตร์และโทรทัศน์ ทั้งยังกลายเป็นสาระสำคัญของความบันเทิงที่หลากหลาย...

 

จำนวนผู้เยี่ยมชม
เดือนนี้
9,135
ปีนี้
30,625
โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์. เข้าเยี่ยมชมหอสมุดม.ล.ปิ่น มาลากุล วันที่ 14 ธันวาคม 2566
ดูกิจกรรมทั้งหมด