ยศไกร ส.ตันสกุล. 2559. ปัญญาญี่ปุ่น วิถีซามูไร จากยุคสร้างชาติสู่ยุคดิจิตอล. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย. 208 หน้า. 165 บาท.
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นต้องตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝืดเคือง เงินเฟ้อ เมื่อครั้งสหรัฐอเมริกาเผชิญวิกฤติการล่มสลายของวอลสตรีทในช่วงปลายยุค 90 ไปจนถึงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในช่วงปี ค.ศ. 2008 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่รับผลกระทบหนักหนามากที่สุดประเทศหนึ่ง แล้วเมื่อเริ่มจะฟื้นฟูทางเศรษฐกิจขึ้นมาได้ ก็ยังต้องเจอปัญหาทั้งจากเหตุการณ์เราปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และปัญหาภัยธรรมชาติจากอุทกภัยและแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงปี ค.ศ. 2011 จนทั่วโลกต่างก็คิดว่า ญี่ปุ่นคงทรุดต่อไปอีกนานหลายทศวรรษ และคงสูญสิ้นตำแหน่งมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมของโลกไปอย่างแน่นอนแล้ว แต่หลังจากผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงมานับครั้งไม่ถ้วน กลับกลายเป็นว่า "ญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นญี่ปุ่น" พวกเขาสามารถฝ่าฟันวิกฤติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มั่นคง มีระเบียบ และน่าทึ่ง เหตุการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นทุกครัวเรือนที่ต้องทึ่ง ด้วยความมีระเบียบวินัย จริงจัง และเห็นแก่ส่วนร่วมมากกว่าความสุขสบายส่วนตัว การเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากเหตุการณ์ที่ผู้คนทั้งหลายพากันแก่งแย่งปัจจัยที่หน่วยงานของรัฐและทั่วโลกให้ความช่วยเหลือในครั้งนั้น ทำให้ทั่วโลกต่างก็ต้อง "ทึ่ง" ในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นที่มีระเบียบวินัยเข้มข้นในยามฉุกเฉิน พร้อมจะสละเรื่องส่วนตัว เห็นแก่ส่วนรวมเป็นหลักนับว่าเป็นวิถีชีวิตของสังคมที่ได้ประสบความสำเร็จในการเอาแนวคิดแบบ ซามูไร บูชิโด และชาตินิยมในยุคเก่า มาผสมผสานให้เข้ากับการใช้ชีวิตในยุคสมัยใหม่และโลกดิจิตอลได้อย่างน่าทึ่งยิ่งนัก
จำนวนผู้เยี่ยมชม | |
เดือนนี้ | 792 |
ปีนี้ | 126,854 |