“Better tomorrow Read today” = “อ่านหนังสือวันนี้ เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”
FREEBOX

ประภาส ชลศรานนท์ (18 cartier replica watches พฤษภาคม พ.ศ.2503 - )

ศิษย์เก่าเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 39

ประภาส ชลศรานนท์ เป็นนักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กับปัญญา นิรันดร์กุล

ประวัติประภาส ชลศรานนท์ เป็นชาวจังหวัดชลบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้ง และนักแต่งเพลงให้กับวงดนตรีเฉลียง ซึ่งนับเป็นกลุ่มดนตรีที่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นการบุกเบิกแนวเพลงใหม่ๆ ทั้งเนื้อหาและท่วงทำนองให้กับวงการเพลงไทย

มีผลงานเพลงที่แต่งไว้และยังได้รับการกล่าวขานจนถึงทุกวันนี้มากมาย ด้วยมีรูปแบบและเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน พ่อ พี่ชายที่แสนดี คู่ทรหด เที่ยวละไม ต้นชบากับคนตาบอด นิทานหิ่งห้อย สาวลาวบ่าวไทย อื่นๆ อีกมากมาย เจ้าภาพจงเจริญ ฯลฯ มีนามปากกาอื่น เช่น สารภี โก๋ ลำลูกกา

นอกจากนี้ยังเป็นนักแต่งเพลงประจำรายการคุณพระช่วย แต่งเพลงนำเสนอ ศิลปะ วัฒนธรรม ของไทย อาทิ เพลงควายไทย เพลงข้าวเหนียว เพลงรากไทยฯลฯ

ในเดือนกรกฎาคม 2551 ได้มีคอนเสิร์ทของเพลงที่ประภาสแต่ง ชื่อว่า คอนเสิร์ทเพลงแบบประภาส มีนักร้อง นักดนตรีระดับคุณภาพของเมืองไทยมาร่วมงานมากมาย อาทิ บี พีรพัฒน์ ป้างนครินทร์ เบน ชลาทิศ เพลิน พรหมแดน เฉลียง เจนนิเฟอร์ คิ้ม เป็นต้น นอกจากใช้วงออเครสตร้าขนาดใหญ่บรรเลงเพลงทั้งคอนเสิร์ตแล้ว ยังนับเป็นคอนเสิร์ตที่ผู้คนในแวดวงดนตรีกล่าวกันว่ามีการนำเสนอเพลงแต่ละเพลงอย่างงดงามและสร้างสรรค์ที่สุดคอนเสิร์ตหนึ่ง

ได้รับรางวัลด้านสื่อสารมวลชนมากมาย เช่น รางวัลบทละครยอดเยี่ยมโทรทัศน์ทองคำจาก เทวดาตกสวรรค์, รางวัลละครยอดเยี่ยม เอเชียน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ จากละครชุด พ่อ, รางวัลแมกซีเลี่ยนอวอร์ด ของ ประเทศโปแลนด์ จากละครเรื่อง ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต, รางวัลเพลงยอดเยี่ยม สีสันอวอร์ด ถึงสามครั้งจากเพลง โลกาโคม่า, "วิงวอน" และเพลง "นาฬิกา" รางวัล B.A.D. (Bangkok Art Director) Awards จาก มิวสิกวิดีโอ เพลง เร่ขายฝัน ได้รับ รางวัลนักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2548 จาก กระทรวงวัฒนธรรม รางวัลบุคคลเบื้องหลังแห่งปีจากไนน์เอนเตอร์เทนอวอร์ด พ.ศ. 2551 และได้รับรางวัล Fat Awards Life Time Achievement ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศของคนทำงานด้านบทเพลงและดนตรียุคใหม่ ซึ่งรางวัลนี้ จัดโดย แฟต เรดิโอ

เนื่องในวโรกาสมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี พ.ศ. 2549 ประภาส ร่วมกับ บมจ.เวิร์คพอยท์ และ เครือซิเมนต์ไทย จัดทำ สารคดีในรูปแบบใหม่คือ สารคดีดนตรีเล่าเรื่อง ชื่อ "น้ำคือชีวิต" เป็นการถ่ายทอด พระราชกรณียกิจ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของ "น้ำ" ให้พสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ได้เห็น และตระหนักถึง สิ่งที่ทรงทำ เกี่ยวกับ เรื่องของ "น้ำ" มาโดยตลอด น้ำคือชีวิตเป็นสารคดีทีเล่าด้วยเพลงที่ขับร้องและบรรเลงโดย ศิลปินสามวง คือ คาราบาว เฉลียง และโมเดิร์นด็อก

ด้านงานเขียน ประภาสมีผลงานเรื่องสั้นนับสิบเรื่อง หนังสือวรรณกรรมเยาวชน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้ง นิตยสารไปยาลใหญ่ นิตยสารทางเลือกที่เป็นที่นิยมของวัยรุ่นยุคหนึ่ง และมีผลงานรวมเล่มจากการเขียนบทความ ในคอลัมน์ คุยกับประภาส ใน หนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนังสือชุดที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็นหนังสือที่มีมุมมองเกี่ยวกับชีวิตและโลกอย่างมีความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก

 

ผลงานเขียนที่ได้รับการรวมเล่มรวมผลงานเรื่องสั้น

  1. ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ, พิมพ์ครั้งแรก สำนักศิษย์สะดือ, พ.ศ. 2530
  2. สุธีเสมอ, สำนักพิมพ์แม่ขมองอิ่ม, สิงหาคม 2543
  3. ห้องครูวิไลตึกใหม่ชั้นสอง , สำนักศิษย์สะดือ, กันยายน 2531
  4. สมุดขบ, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, 2550
  5. เขียนแบบถาปัด, สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2548
  6. ใจประทับใจ, สำนักพิมพ์ มติชน 2543
  7. เพลงเขียนคนดนตรีเขียนโลก, พิมพ์ครั้งที่ 1 ปีที่พิมพ์ ตุลาคม 2537 สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปีที่พิมพ์ มีนาคม 2542 สำนักพิมพ์ กระดาษพ่อดินสอแม่

พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยเวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง; กรกฎาคม 2551 ใช้ชื่อ เพลงเขียนคนดนตรีเขียนโลก ฉบับ 2551

  1. แม่เภา, พิมพ์ครั้งแรก เวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง, ตุลาคม 2553
  2. สุธี, (รวมเรื่องสั้น ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ และ สุธีเสมอ" พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก เวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง, มิถุนายน 2549, พิมพ์ครั้งที่ 25 เวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง, พฤษภาคม 2554
  3. อภินิหารพระดิน, พิมพ์ครั้งแรก เวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง, ตุลาคม 2554
  4. วรรณกรรมเยาวชน
  5. มังกรไฟไม่เรียนหนังสือ, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, 2548
  6. รวมบทความจากคอลัมน์ คุยกับประภาส
  7. คุยกับประภาส, สำนักพิมพ์กระดาษพ่อดินสอแม่, 2542
  8. ตัวหนังสือคุยกัน, สำนักพิมพ์แม่ขมองอิ่ม, มีนาคม 2543
  9. กบเหลาดินสอ, สำนักพิมพ์มติชน, สิงหาคม 2544
  10. มะเฟืองรอฝาน, สำนักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2545
  11. เชือกกล้วยมัดต้นกล้วย, สำนักพิมพ์มติชน, กันยายน 2546
  12. ยอดมนุษย์ลำลอง, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ตุลาคม 2547
  13. เท่าดวงอาทิตย์, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, กันยายน 2548
  14. แมงกะพรุนถนัดซ้าย, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, 2549

 

รวมผลงานบทเพลง

  1. เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก เรียบเรียงโดย สมชัยพหลกุลบุตร, ณ บ้านวรรณกรรม, ตุลาคม 2537

 

รวมบทสัมภาษณ์

  1. เหมือนไขมัน, อะบุค พับลิชชิง, มีนาคม 2543
  2. หลังตู้เย็น, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ตุลาคม 2547

 

บทละคร

  1. วัคซีน, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2542
  2. เหมือนแม่ครึ่งหนึ่งก็พึงใจ, สำนักพิมพ์ฤดูร้อน, ตุลาคม 2542
  3. ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต, เวิร์คพอยท์ พับลิชชิง, ธันวาคม 2547
  4. พ่อ - วัคซีน, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 2542

 

ภาพยนตร์

  1. เป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ยักษ์ (YAK : The Giant King) 2555
 

จำนวนผู้เยี่ยมชม
เดือนนี้
6,871
ปีนี้
110,350
ผู้อำนวยการจากโรงเรียนเซนต์แอนดรูว์ ประเทศสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด
ดูกิจกรรมทั้งหมด